Total Pageviews

Tuesday, 22 November 2011

เขตส่งเสริมการลงทุน (EPZ)

เขตส่งเสริมการลงทุน (EPZ)
คณะกรรมการได้แบ่งเขตการลงทุนออกเป็น 3 เขต ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยใช้รายได้และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ ดังนี้
เขต 1 ประกอบด้วย 6 จังหวัดในส่วนกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร
เขต 2 ประกอบด้วย 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
เขต 3 ประกอบด้วย 58 จังหวัด ให้ท้องที่ทุกจังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน

เขต 1
โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร
เขต 2
โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง
เขต 3
โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 58 จังหวัด
เขต 1
·       ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรกึ่งหนึ่ง เฉพาะเครื่องจักรที่มีอากรขาเข้า ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
·       ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับโครงการที่ตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ผู้ได้รับการส่งเสริมในโครงการที่มีขนาดการลงทุน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน ระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
·       ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี

เขต 2
·       ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรกึ่งหนึ่งเฉพาะเครื่องจักรที่มีอากรขาเข้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
·       ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี และเพิ่มเป็น 5 ปี หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ผู้ได้รับการส่งเสริมในโครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
·       ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี

เขต 3
·       ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
·       ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ทั้งนี้ผู้ได้รับการส่งเสริมในโครงการที่มีขนาดการ ลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรอง ระบบคุณภาพตาม
มาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่
สามารถดำเนินการได้จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
·       ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี
โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 40 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระนอง ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย สงขลา สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี หนองคาย อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และ อุบลราชธานี ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร และสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
·       สำหรับโครงการที่ตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
·       ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
·       อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
·       สำหรับโครงการที่ตั้งสถานประกอบการนอกนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม อนุญาตให้หักค่าติดตั้ง หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อม

โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 18 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครพนม นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ  ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรและสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
·       ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
·       อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
·       อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ

กิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมในกิจการประเภทต่อไปนี้ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
·       กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
·       กิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
·       กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการและบริการพื้นฐาน
·       กิจการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม
·       อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ทั้งนี้คณะกรรมการจะได้ประกาศกำหนดกิจการหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้ประเภทกิจการที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ดังนี้
·       ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด
·       ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด
·       สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามเกณฑ์ที่ตั้งในแต่ละเขต

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2 / 2543
เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไขของกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
1.      ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2536 เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไขของกิจการที่จะให้การส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 9 เมษายน 2536
2.      ให้กิจการตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
3.      ให้กำหนดขนาดการลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับทุกประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
4.      ให้กำหนดเงื่อนไขสำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่กำหนดในกิจการประเภทนั้น ๆ
5.      สิทธิและประโยชน์สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน เว้นแต่ที่มีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีท้ายประกาศนี้
6.      ให้กิจการต่อไปนี้เป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
6.1
กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตรตามที่กำหนดไว้ในหมวด 1 ของ บัญชีท้ายประกาศนี้
6.2
กิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ได้แก่
6.2.1 กิจการวิจัยและพัฒนา (ประเภท 7.12)
6.2.2 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ (ประเภท 7.13)
6.2.3 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน (ประเภท 7.14)
6.2.4 กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ประเภท 7.15)
6.3 กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน ได้แก่
6.3.1 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน (ประเภท 7.1)
6.3.2
กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่ (ประเภท 7.2)
6.4 กิจการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
6.4.1 กิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเภท 7.5.6)
6.4.2 กิจการบริการบำบัดน้ำเสีย กำจัดหรือขนถ่ายขยะ กากอุตสาหกรรม หรือสารเคมีที่เป็นพิษ(ประเภท 7.16)
6.5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
6.5.1 การผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อเฉพาะที่ใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace (ประเภท 2.12)
6.5.2 การผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบ ( ประเภท 2.13)
6.5.3 การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ (ประเภท 4.2 ) ได้แก่
(1)   การผลิตแม่พิมพ์และชิ้นส่วน
(2)   การผลิตอุปกรณ์จับยึด
(3)     การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้แก่ Turning Machines, Drilling Machines, Boring Machines, Milling Machines, Grinding Machines, Machine Centers, Gear Cutting & Finishing Machines, Die Sinking EDMs, Wire EDMs, Laser Beam Machines, Plasma Arc Cutting Machines, Electron Beam Machines, Broaching Machines
(4)   การผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับงาน ตัด กัด กลึง เซาะ ไส เจียร ขัด และทำเกลียวที่ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเที่ยงตรงสูง
6.5.4 การผลิตชิ้นส่วนผงโลหะอัดขึ้นรูป (ประเภท 4.3)
6.5.5 การผลิตหรือซ่อมอากาศยาน รวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน (ประเภท 4.7)
6.5.6 การผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ (ประเภท 4.8) ได้แก่
(1) การผลิตระบบเบรค ABS
(2)
การผลิต Substrate สำหรับ Catalytic Converter
(3)
การผลิต Electronic Fuel Injection System
6.5.7 การชุบแข็ง (ประเภท 4.12 )
6.5.8 การผลิตสารหรือแผ่นสำหรับไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเภท 5.6 )
6.5.9 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ (ประเภท 5.7)
6.5.10 กิจการซอฟต์แวร์ (ประเภท 5.8 )
6.5.11 กิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ประเภท 7.5)
6.5.12 กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (ประเภท 7.7)
7. คณะกรรมการอาจประกาศงดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ปรากฏในบัญชีท้ายประกาศนี้เมื่อเห็นว่ากิจการนั้น หมดความจำเป็นที่จะให้การส่งเสริมการลงทุนต่อไป หรืออาจประกาศเพิ่มเติมประเภทกิจการใดๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้การส่งเสริมขึ้นอีกก็ได้ แม้กิจการนั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีท้ายประกาศนี้ก็ตาม
8.
ประกาศนี้มีผลบังคับใช้สำหรับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2543 เป็นต้นไป
9. โครงการที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมหรือได้รับการส่งเสริมการลงทุนก่อนวันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2543
แต่เป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษตามข้อ 6 ของประกาศฉบับนี้ หากยังไม่ได้ใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรก่อนวันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2543 จะขอเปลี่ยนประเภทกิจการตามที่กำหนดใหม่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดใหม่ในประเภทกิจการนั้นๆก็ได้ โดยให้ยื่นขอต่อสำนักงานภายในวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.. 2543
ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2543
( นายชวน หลีกภัย )
     นายกรัฐมนตรี
   ประธานกรรมการ
บัญชีประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริมการลงทุน

 บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

หมวด 1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร

ประเภท
เงื่อนไข

1.1 กิจการขยายพันธุ์พืชหรือการคัดคุณภาพเมล็ดพันธุ์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.2 กิจการเพาะปลูกด้วยระบบ Hydroponics
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.3 กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.4 กิจการขยายพันธุ์สัตว์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.5 กิจการเลี้ยงสัตว์
1.5.1 การเลี้ยงปศุสัตว์
1.5.2 การเลี้ยงสัตว์น้ำ (ยกเว้นกุ้ง)
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.6 กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.7 กิจการอบพืชและไซโล
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.8 กิจการประมงน้ำลึก
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.9 กิจการฆ่าและชำแหละสัตว์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.10 กิจการฟอกหนังสัตว์แต่งสำเร็จหนังสัตว์หรือ
       การตกแต่ง ขนสัตว์
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
 2. เฉพาะกิจการฟอกหนังสัตว์ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรม
 ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด

1.11 กิจการผลิตหรือถนอมอาหารหรือสิ่งปรุงแต่งอาหาร
         โดยใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย (ยกเว้นการผลิตน้ำดื่ม ลูกอม  
         และไอศกรีม)
1.11.1 กิจการผลิตหรือถนอมอาหารจากสัตว์
1.11.2 กิจการผลิตหรือถนอมอาหารจากพืชผักผลไม้
1.11.3 กิจการผลิตหรือถนอมอาหารจากข้าวหรือธัญพืช
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ


ประเภท
เงื่อนไข

1.11.4 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมดิบ
1.11.5 กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งอาหาร
1.11.6 กิจการผลิตสารให้ความหวาน (ยกเว้นน้ำตาล)
1.11.7 กิจการผลิตเครื่องดื่มจากพืชผักผลไม้ (ยกเว้นที่มี
          แอลกอฮอล์)
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.12 กิจการผลิตน้ำมันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.13 กิจการคัดคุณภาพและบรรจุ เก็บรักษา พืชผัก ผลไม้
        หรือดอกไม้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.14 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.15 กิจการผลิตเดกตรินหรือโมดิไฟด์สตาร์ช
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.16 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษ
        วัสดุทาง การเกษตร
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.17 กิจการห้องเย็น
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.18 กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องมีที่ดินทั้งหมดไม่น้อยกว่า 100 ไร่
3. ต้องตั้งแหล่งประกอบการในพื้นที่ที่คณะกรรมการให้ความ เห็นชอบ
4. พื้นที่สำหรับประกอบกิจการและบริการที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับ แสดงหรือซื้อขายสินค้าเกษตร ศูนย์ประมูล สินค้า ห้องเย็น คลังสินค้า และต้องให้บริการตรวจสอบ คัดคุณภาพ และตรวจสารพิษตกค้าง


1.19 กิจการเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ที่ดินต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 500 ไร่
3. ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และ ไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด
4. ที่ดินสำหรับประกอบกิจการที่เข้าข่ายประเภทกิจการในหมวด 1 ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ตั้งโรงงาน
5. เงื่อนไขอื่นเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

1.20 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร
       (ยกเว้น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน และ เครื่องสำอาง)
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ




ประเภท
เงื่อนไข

1.21 กิจการตรวจ วิเคราะห์ และ รับรองคุณภาพมาตรฐาน
        ผลิตผล การเกษตร
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
1.22 กิจการตรวจวิเคราะห์โรคพืช ปศุสัตว์ หรือสัตว์น้ำ
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.23 กิจการตรวจวิเคราะห์ดินหรือน้ำเพื่อการเกษตร
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

1.24 กิจการปลูกป่า
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องมีพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่
3. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว
    ข้องก่อนขอรับการส่งเสริม

1.25 กิจการแปรรูปไม้ยางพารา
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องมีการอัดน้ำยาและอบแห้งในกรรมวิธีการผลิต

1.26 กิจการผลิตแอลกอฮอล์หรือเชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตร
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ



หมวด 2 เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
ประเภท
เงื่อนไข
2.1 กิจการสำรวจแร่
-
2.2 กิจการทำเหมืองแร่หรือแต่งแร่ (ยกเว้นแร่ดีบุก)
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. เฉพาะกิจการทำเหมืองแร่ ต้องได้ประทานบัตรจาก กรม
     ทรัพยากรธรณี ก่อนออกบัตรส่งเสริม
2.3 กิจการทำเหมืองหินอ่อนหรือหินแกรนิต
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องได้ประทานบัตรจากกรมทรัพยากรธรณีก่อนออกบัตรส่งเสริม
2.4 กิจการผลิตเครื่องดินเผา
2.4.1 สโตนแวร์
2.4.2 ปอร์ซเลน
2.4.3 โบนไชน่า
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.5 กิจการผลิตแก้วหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.6 กิจการถลุงแร่
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.7 กิจการผลิตผงโลหะ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.8 กิจการผลิตเฟอร์โรอัลลอย
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.9 กิจการผลิตเหล็กทรงแบน
2.9.1 กิจการผลิตเหล็กแผ่นไร้สนิมรีดร้อน หรือรีดเย็น
2.9.2 กิจการผลิตเหล็กแผ่นหนา
2.9.3 กิจการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนหรือรีดเย็น
2.9.4 กิจการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. เฉพาะกิจการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ หากตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่การนิคมอุตสาหกรรมฯ กำหนด ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีและยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น ให้ได้ รับตามประกาศคณะกรรมการที่ 1/2543
2.10 กิจการผลิตเหล็กทรงยาว
2.10.1 กิจการผลิตเหล็กลวด ลวดเหล็ก เหล็กเพลาเหล็กแท่ง
2.10.2 กิจการผลิตเหล็กรูปพรรณ (ประเภทเตาหลอม)
ต้องตั้งในเขต 3 ยกเว้นที่มีเตาหลอมให้ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือ เขตอุตสาหกรรมในเขต 2 ได้
2.11 กิจการผลิตท่อเหล็กหรือท่อเหล็กไร้สนิม
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.12 กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับการผลิตชิ้นส่วน เหล็กหล่อที่ใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.13 กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบ
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.14 กิจการรีด ดึง หล่อ หรือทุบโลหะที่มิใช่เหล็ก
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.15 กิจการผลิตวัสดุทนไฟหรือฉนวนกันความร้อน
ต้องตั้งในเขต 3

ประเภท
เงื่อนไข
2.16 กิจการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิกส์
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.17 กิจการผลิตแผ่นยิปซั่มหรือผลิตภัณฑ์จากยิปซั่ม
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2.18 กิจการตัดและแปรรูปโลหะแผ่น ( Coil Center)
ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรเท่านั้น
หมวด 3 อุตสาหกรรมเบา
ประเภท
เงื่อนไข
3.1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอหรือชิ้นส่วน
3.1.1 กิจการผลิตเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใย ประดิษฐ์
3.1.2 กิจการผลิตด้าย
3.1.3 กิจการผลิตผ้า
3.1.4 กิจการฟอกย้อมและแต่งสำเร็จ
3.1.5 กิจการพิมพ์และแต่งสำเร็จ
3.1.6 กิจการผลิตเครื่องนุ่งห่ม
3.1.7 กิจการผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องนุ่งห่ม
3.1.8 กิจการผลิตเคหะสิ่งทอ
3.1.9 กิจการผลิตพรม
1. ต้องตั้งในเขต 3 ยกเว้น 3.1.1 กิจการผลิตเส้นใยธรรมชาติหรือ เส้นใยสังเคราะห์ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. เฉพาะ 3.1.4 กิจการฟอกย้อมและแต่งสำเร็จ ต้องตั้งในนิคม อุตสาหกรรมที่การนิคมอุตสาหกรรมฯกำหนด โดยให้ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีและยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร สำหรับ สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะกรรมการที่ 1/2543
3.2 กิจการผลิตเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
3.2.1 กิจการเจียระไนหรือตัดเพชร อัญมณีและมุก
3.2.2 กิจการผลิตเครื่องประดับหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3 หรือตั้งอยู่ในศูนย์อุตสาหกรรม
อัญมณี และเครื่อง ประดับที่ได้รับการส่งเสริม
3.2.3 กิจการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับของมีค่าหรือที่วางแสดง ของมีค่า
ต้องตั้งในเขต 3
3.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์หรือหนังเทียม
ต้องตั้งในเขต 3
3.4 กิจการผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
3.5 กิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
3.6 กิจการผลิตของเล่น
ต้องตั้งในเขต 3
3.7 กิจการผลิตดอกไม้ ต้นไม้ประดิษฐ์ และสิ่งประดิษฐ์ อื่น ๆ
3.7.1 กิจการผลิตดอกไม้และต้นไม้ประดิษฐ์
3.7.2 กิจการผลิตของชำร่วยและของที่ระลึก
3.7.3 กิจการผลิตสิ่งประดิษฐ์
ต้องตั้งในเขต 3
3.8 กิจการผลิตเลนส์หรือ แว่นตา หรือส่วนประกอบ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
3.9 กิจการผลิตเวชภัณฑ์หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
-
3.10 กิจการผลิตเครื่องเขียนหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 3
3.11 กิจการผลิตเครื่องเรือนหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 3
3.12 กิจการผลิตกระเป๋าหรือชิ้นส่วน
ต้องตั้งในเขต 3
3.13 กิจการผลิตแผ่นซึมซับ
ต้องตั้งในเขต3 หรือ นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมในเขต 2
3.14 กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์
-
3.15 กิจการผลิตแห อวน
ต้องตั้งในเขต 3
3.16 กิจการผลิตกระดาษทราย
ต้องตั้งในเขต 3

หมวด 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
ประเภท
เงื่อนไข
4.1 กิจการผลิตเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัด
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.2 กิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สำหรับ
1) การผลิตแม่พิมพ์ (Mould & Die) และชิ้นส่วน
2) การผลิตอุปกรณ์จับยึด (Jig & Fixture)
3) การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้แก่ Turning Machines, Drilling Machines, Boring Machines, Milling Machines, Grinding Machines, Machine Centers, Gear Cutting & Finishing Machines, Die Sinking EDMs, Wire EDMs, Laser Beam Machines, Plasma Arc Cutting Machines, Electron Beam Machines, Broaching Machines
4) การผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับงานตัด กัด กลึง เซาะ ไส เจียร ขัด และ ทำเกลียว ที่ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเที่ยงตรงสูง (High Precision)
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ อัดขึ้นรูป (Sintered Products)
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับการผลิตชิ้นส่วน ผงโลหะ
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.4 กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือเหล็กขนาดมากกว่า 500 ตันกรอส
-
4.5    กิจการต่อเรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส (ยกเว้นเรือไม้หรือเหล็ก)
-
4.6 กิจการผลิตรถไฟหรือรถไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ (เฉพาะระบบราง)
-
4.7 กิจการผลิตหรือซ่อมอากาศยาน รวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศ ยานหรือเครื่องใช้บนอากาศยาน
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับการผลิตหรือ
ซ่อมอากาศยาน รวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน
4.8 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับ
1) การผลิตระบบเบรก ABS
2) การผลิต Substrate สำหรับ Catalytic Converter
3) การผลิต Electronic Fuel Injection System
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3

ประเภท
เงื่อนไข
4.9 กิจการประกอบรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ
1. ต้องตั้งในเขต 3
2. ต้องมีกำลังผลิตไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคันต่อปี
3. ต้องมีขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การเชื่อมประกอบโครงรถและ
    การพ่นสี
4.10 กิจการประกอบรถยนต์
ไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทุกเขต สำหรับสิทธิ
และ ประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะกรรมการที่
1/2543
4.11 กิจการชุบเคลือบผิวด้วยโลหะ หรือ Anodize (Surface Treatment)
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. หากตั้งในนิคมอุตสาหกรรมที่การนิคมอุตสาหกรรมฯ
    กำหนด ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และยก
    เว้นอากรขาเข้า เครื่องจักร สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น
    ให้ได้รับตามประกาศ คณะกรรมการที่ 1/2543
4.12 กิจการชุบแข็ง
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
3. หากมีการใช้สารไซยาไนด์ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือ
    เขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม
4.13 กิจการผลิตยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.14 กิจการผลิตเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ ประเภท 4 จังหวะ
ต้องตั้งในเขต 3
4.15 กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.16 กิจการผลิตเครื่องยนต์อเนกประสงค์
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.17 กิจการซ่อมเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการอุตสาหกรรม
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องมีความสามารถในการซ่อมชิ้นส่วนสำคัญของเครื่อง
    จักรได้
4.18 กิจการผลิตภาชนะบรรจุสิ่งของที่ทำจากโลหะ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.19 กิจการผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง หรืออุปกรณ์ สำหรับงานอุตสาหกรรม (Fabrication Industry)
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.20 กิจการผลิตเครื่องอัดอากาศ หรือ ก๊าซ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.21 กิจการผลิตและซ่อมบำรุงรักษาตู้สินค้าแบบคอนเทนเนอร์
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
4.22 กิจการซ่อมชิ้นส่วนยานพาหนะ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์
ต้องตั้งในเขตอุตสาหกรรมส่งออก    เขตคลังสินค้าทัณฑ์บน
สำหรับ ประกอบการค้าเสรี หรือ เขตคลังสินค้าทัณฑ์บน

หมวด 5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภท
เงื่อนไข
5.1 กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรม
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
5.2 กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
5.3 กิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
5.3.1 การผลิตหลอดไฟฟ้า
5.3.2 การผลิตแบตเตอรี่ หรือถ่านไฟฉาย
5.3.3 การผลิตลวดหรือสายเคเบิลชนิดหุ้มฉนวน
5.3.4 การผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
5.4 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
5.4.1 การผลิตเครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องคำนวณ
(1) เครื่องคิดเลข
(2) เครื่องคอมพิวเตอร์
(3) อุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ ได้แก่ การพิมพ์เอกสาร
การผลิตเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร หรือเครื่องพิมพ์ดีด
อิเล็กทรอนิกส์
5.4.2 การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน
(1) เตาอบไมโครเวฟ
(2) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลอื่นๆ
5.4.3 การผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อการอุตสาหกรรม
(1) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ
(2) หุ่นยนต์
(3) อุปกรณ์ตรวจสอบเครื่องจักร
(4) อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ
5.4.4 การผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยุโทรทัศน์หรือ โทรคมนาคม
(1) เครื่องรับโทรทัศน์
(2) เครื่องบันทึกและเครื่องเล่นวีดีโอ
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ถึงวันที่ 31
    ธันวาคม 2547 เครื่องทำบัญชี
3. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น ให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการที่ 1/2543

ประเภท
เงื่อนไข
(3) เครื่องวีดีโอ ดิสซ์
(4) เครื่องวีดีโอ เท็ค
(5) เครื่องสำหรับสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
(6) เครื่องรับวิทยุ
(7) เครื่องรับวิทยุรถยนต์
(8) เครื่องรับวิทยุ - เทป
(9) เครื่องเสียง
(10) เครื่องเล่นคอมแพคดิสก์
(11) เครื่องเล่นเทประบบดิจิตัล
(12) เครื่องโทรศัพท์ภายใน
(13) เครื่องวิทยุสื่อสาร ทั้งชนิดเคลื่อนที่ได้ ชนิดสมัครเล่น ชนิดรับส่ง ชนิดไมโครเวฟ ชนิดสถานีรับส่ง หรือชนิดเพ็จจิ้ง
(14) เรดาร์
(15) เครื่องโทรคมนาคม ได้แก่ เครื่อง ระบบวอยซ์สวิชชิง
เครื่องรับ-ส่งโทรเลข เครื่องรับโทรศัพท์ หรือเครื่องรับ
โทรศัพท์แบบเซลลูลาร์
(16) เครื่องสื่อสารระบบไฟเบอร์ออฟติค
(17) เครื่องสื่อสารข้อมูล
(18) เครื่องสำหรับสถานีรับ-ส่งโทรทัศน์
(19) เครื่องโทรสาร
5.4.5 การผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดและการควบคุมสำหรับ งานวิชาชีพและงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งมิได้จัดประเภท ไว้ที่อื่น หรือการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการ ถ่ายภาพและสายตา
(1) อุปกรณ์เตือนกันขโมย
(2) อุปกรณ์เตือนเหตุฉุกเฉิน
(3) กล้องถ่ายวีดีโอ
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ถึงวันที่ 31
    ธันวาคม 2547 เครื่องทำบัญชี
3. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น ให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการที่ 1/2543 
ประเภท
เงื่อนไข
(4) กล้องถ่ายรูปอิเล็กทรอนิกส์
(5) นาฬิกา
(6) เครื่องควบคุมแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้า
(7) เครื่องมือวัด ทดสอบและวิเคราะห์
(8) เครื่องจ่ายไฟ
(9) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์
(10) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการแพทย์ ได้แก่
อุปกรณ์วินิจฉัยโรค อุปกรณ์รักษาโรค อุปกรณ์ผ่าตัด
และการให้ยา หรืออุปกรณ์มอนิเตอร์ อุปกรณ์เลเซอร์
(11) เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม (Measurement Equipment for Industries)
5.4.6 การผลิตเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ถึงวันที่ 31
    ธันวาคม 2547 เครื่องทำบัญชี
3. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น ให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการที่ 1/2543
5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
5.5.1 ไดโอด
5.5.2 ทรานซิสเตอร์
5.5.3 ไทรีสเตอร์
5.5.4 แผงวงจรไฟฟ้า
5.5.5 อุปกรณ์ออฟโตอิเล็กทรอนิกส์
5.5.6 รีซีสเตอร์
5.5.7 คาปาซิเตอร์
5.5.8 รีเลย์
5.5.9 สวิทช์และแป้นพิมพ์
5.5.10 ชิ้นส่วนที่มีแม่เหล็ก ได้แก่
ขดลวด หม้อแปลงไฟฟ้าต่ำกว่า 1 เควีเอ
หรือชิ้นส่วนที่มีแม่เหล็กอื่นๆ
5.5.11 ทรานสดิวเซอร์
5.5.12 ผลึกควอทซ์
1. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ถึงวันที่ 31
    ธันวาคม 2547
2. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการ ที่ 1/2543
  
ประเภท
เงื่อนไข
5.5.13 แฟสซีฟ ฟิลเตอร์ และเนทเวอร์คได้แก่ อิเล็กโทร-
แมคคานิคัล ฟิลเตอร์ อาร์เอฟไอ และอีเอ็มไอ ฟิลเตอร์
อาร์ซี เนทเวอร์ค ดีเลย์ไลน์หรือ แอทเทนนูเอเตอร์
5.5.14 คอนเน็คเตอร์
5.5.15 แผ่นวงจรพิมพ์
5.5.16 เต้าเสียบ และเต้ารับ
5.5.17 ชิ้นส่วนเกี่ยวกับเสียงได้แก่ไมโครโฟน เอียโฟน
ลำโพง และอุปกรณ์เฮดโฟน คาร์ทริดจ์ หรือชิ้นส่วน
เกี่ยวกับเสียงอื่นๆ
5.5.18 มอเตอร์ขนาดเล็ก
5.5.19 หลอดอิเล็กทรอนิกส์
5.5.20 ชิ้นส่วนโทรคมนาคมชนิดไมโครเวฟ ได้แก่
สวิทช์ไมโครเวฟหรืออุปกรณ์เฟอร์ไรท์
5.5.21 อุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
อุปกรณ์เก็บข้อมูล ออฟทิคัลดิสซ์ เทอร์มินัล แป้นพิมพ์
เครื่องพิมพ์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้กับ คอมพิวเตอร์
5.5.22 ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้แก่ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป จากแผ่นวงจรพิมพ์ หรือ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
ชนิดอิเล็กโทรเม็คคานิกส์
5.5.23 การผลิตแฟลทเคเบิ้ล ชีลด์เคเบิ้ล โคแอคเชียลเคเบิ้ล หรือซิกแนลเคเบิ้ล
1. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ถึงวันที่ 31
    ธันวาคม 2547
2. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการ ที่ 1/2543
5.6 กิจการผลิตสาร หรือ แผ่น สำหรับไมโครอิเล็กทรอนิกส์
5.6.1 Wafer
5.6.2 Thin Film Technology
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ยกเว้นในเขต 1
    ไม่ให้ได้ รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่หากตั้งในนิคม
    อุตสาหกรรม หรือ เขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมให้
    ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล 3 ปี
2. ต้องมีแผนการวิจัยและพัฒนาที่คณะกรรมการให้ความ
    เห็นชอบ

ประเภท
เงื่อนไข
5.7 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
5.7.1 Micro Electronics Design
5.7.2 Prototype Design
5.7.3 Imbedded System Design
5.7.4 ออกแบบโปรแกรมสำหรับงานเฉพาะ เช่น
Artificial Intelligence, Virtual Reality
Neuronetwork, Fuzzy Logic, Education
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนรายได้จากการ
    จำหน่าย ผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่ออกแบบเอง
    แต่จ้างผู้อื่นผลิตด้วย

5.8 กิจการซอฟต์แวร์
5.8.1 การพัฒนา ผลิต ปรับเปลี่ยน รวมระบบ
บำรุงรักษาซอฟต์แวร์
5.8.2 การฝึกอบรมในลักษณะ Professional Training
เกี่ยวกับซอฟต์แวร์
5.8.3 การผลิตซอฟต์แวร์ประเภท Multimedia
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ยกเว้นในเขต 1
     และ 2 ที่ตั้งนอกเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ให้ได้รับยก
     เว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล 5 ปี
2. ในกรณีนำซอฟต์แวร์ต่างประเทศ มาปรับเปลี่ยน ต้นทุน
    ซอฟต์แวร์ ต่าง ประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าใช้
    จ่ายทั้งหมดในการ ปรับเปลี่ยน
5.9 กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5.9.1 การให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce Application Service Provider)
5.9.2 การดำเนินพาณิชย์กรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce User)



1. ในกรณีนำซอฟต์แวร์ต่างประเทศ มาปรับเปลี่ยน ต้นทุน
    ซอฟต์แวร์ ต่างประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าใช้
    จ่ายทั้งหมดในการปรับ เปลี่ยน
2. ต้องไม่เป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทในเครือ
3. ประเภท 5.9.1 ให้ได้รับ
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต
- โครงการที่ตั้งในเขต1 และ 2 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงิน
          ได้นิติ บุคคล 5 ปี แต่หากตั้งในเขตอุตสาหกรรม
          ซอฟต์แวร์ให้ได้รับยกเว้น ภาษีเงิน ได้นิติบุคคล 8 ปี
4. ประเภท 5.9.2 ไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. สำหรับสิทธิและประโยชน์อื่น ให้ได้รับตามประกาศคณะ
    กรรมการ ที่ 1/2543

หมวด 6 เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก

ประเภท
เงื่อนไข
6.1 กิจการผลิตเคมีภัณฑ์พื้นฐาน เฉพาะ
6.1.1 Aluminium Oxide
6.1.2 Aluminium Hydroxide
6.1.3 Magnesium Hydroxide
6.1.4 Potassium Hydroxide
6.1.5 Ammonium Sulphate
6.1.6 Ammonium Bicarbonate
6.1.7 Calcium Carbide
6.1.8 Calcium Chloride
6.1.9 Magnesium Chloride
6.1.10 Potassium Bicarbonate
6.1.11 Sodium Phosphate
6.1.12 Sodium Silicate
6.1.13 Ethyl Alcohol
6.1.14 Acetic Acid
6.1.15 Citric Acid
6.1.16 Glutamic Acid
6.1.17 Hexahydric Alcohol (Sorbital)
6.1.18 Polyether Polyol
6.1.19 Chlorinated Paraffin
6.1.20 Formaldehyde
1. ต้องตั้งในเขต 3
2. ต้องมีกระบวนการทางเคมี















ประเภท
เงื่อนไข
6.2 กิจการผลิตเคมีภัณฑ์อื่นๆ ยกเว้น
Industrial Gases, Calcium Oxide, Silicon Dioxide,
Zinc Oxide, Hydrogen Peroxide, Sulfuric Acid, Hydrochloric Acid, Sodium Hydroxide, Calcium Hydroxide, Aluminium Sulphate, Potassium Aluminium Sulphate, Calcium Carbonate, Calcium Phosphate,
Sodium Chloride, Sodium Hypochlorite, Calcium Hypochlorite, Paraffin & Wax, Carbon Black และ Chlorine
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องมีกระบวนการทางเคมี



6.3 กิจการผลิตปุ๋ย
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.4 กิจการผลิตยาปราบศัตรูพืชหรือยากำจัดวัชพืช
ต้องตั้งในเขต 3
6.5 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.6 กิจการโรงกลั่นน้ำมัน
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรเฉพาะการ
    ยกเว้น อากรขาเข้าเครื่องจักรทั้งเขต 2 และ 3
6.7 กิจการผลิตสีย้อมและสารให้สี (ยกเว้นสีทา)
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.8 กิจการผลิตสารออกฤทธิ์สำคัญในยา (Active Ingredient)
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.9 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือ เคลือบด้วยพลาสติก
6.9.1 สินค้าสำเร็จรูปเพื่อการอุปโภคบริโภค
6.9.2 การผลิตชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบสำหรับสินค้า
อุตสาหกรรม
ต้องตั้งในเขต 3
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.10 กิจการผลิตเยื่อกระดาษ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.11 กิจการผลิตกระดาษ
ต้องตั้งในเขต 3
6.12 กิจการผลิตภาชนะหรือกล่องกระดาษ
ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
6.13 กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อ เยื่อกระดาษ
กระดาษ หรือกระดาษแข็ง
ต้องตั้งในเขต 3
6.14 กิจการผลิตสิ่งพิมพ์
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องมีกระบวนการพิมพ์ที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
6.15 กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย
ต้องตั้งใน 18 จังหวัดในเขต 3 ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครพนม
นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม
ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์
หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ

หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค
ประเภท
เงื่อนไข
7.1 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน
7.1.1 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ
7.1.2 กิจการประปาหรือน้ำเพื่ออุตสาหกรรม
7.1.3 กิจการทางสัมปทาน
7.1.4 กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือเดินทะเล
7.1.5 กิจการสถานที่ตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อการส่งออก หรือโรงพักสินค้า เพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุ ของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตท่าเทียบเรือ (รพท.)
7.1.6 กิจการสนามบินพาณิชย์
7.1.7 กิจการโทรคมนาคมดาวเทียม
7.1.8 กิจการบริการโทรศัพท์
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
3. ประเภท 7.1.7 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะ
    รายได้ ที่ได้รับจาก ต่างประเทศ สำหรับสิทธิและ
    ประโยชน์อื่นให้ได้รับ ตามประกาศ คณะกรรมการที่
   1/2543
4. ประเภท 7.1.8 ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับ
    ภาษีอากร เท่านั้น



กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่
7.2.1 กิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และรถไฟขนส่งสินค้า
(เฉพาะระบบราง)
7.2.2 กิจการขนส่งทางท่อ
7.2.3 กิจการขนส่งทางอากาศ
7.2.4 กิจการขนส่งทางเรือ
7.2.5 กิจการเรือเฟอร์รี่
7.2.6 กิจการเรือกำลังสูง
1. ประเภท 7.2.1 ถึง 7.2.4 จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญ
    เป็นพิเศษ
2. ประเภท 7.2.5 และ 7.2.6 ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้า
    เครื่องจักรกึ่งหนึ่งและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี
    ทุกเขต
3. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
    ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการที่
    1/2543 ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
7.3 กิจการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการ ที่
1/2543 ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
7.3.1 กิจการบริการที่จอดเรือท่องเที่ยว
เงื่อนไขกิจการบริการที่จอดเรือท่องเที่ยว
ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น อุปกรณ์ยกเรือ ที่จอด
เรือบนบก โรงจอดเรือสำหรับซ่อมบำรุงเรือ
7.3.2 กิจการเดินเรือท่องเที่ยวหรือให้เช่าเรือท่องเที่ยว
เงื่อนไขกิจการเดินเรือท่องเที่ยวหรือให้เช่าเรือท่องเที่ยว
1. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
2. ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรกึ่งหนึ่ง และยกเว้น
    ภาษีเงินได้ นิติบุคคล 5 ปี ทุกเขต

ประเภท
เงื่อนไข
7.3.3 กิจการสวนสนุก
เงื่อนไขกิจการสวนสนุก
1. ต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่
    น้อยกว่า 500 ล้านบาท และที่ดินไม่น้อยกว่า 200 ไร่
2. ส่วนประกอบของโครงการ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
    คณะกรรมการ
3. ต้องจัดที่ดินร้อยละ 30 ของที่ดินทั้งหมดเป็น พื้นที่สีเขียว
    ร้อยละ 15 และที่จอดรถร้อยละ 15
7.3.4 กิจการศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมหรือศูนย์ศิลป หัตถกรรม
เงื่อนไขกิจการศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมหรือศูนย์ศิลป
หัตถกรรม ต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุน
เวียนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท และที่ดินมีขนาดไม่น้อยกว่า
10 ไร่
7.3.5 กิจการอุทยานสัตว์น้ำ
เงื่อนไขกิจการอุทยานสัตว์น้ำ
1. ต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่
    น้อยกว่า 100 ล้านบาท และที่ดินมีขนาดไม่น้อยกว่า10ไร่
2. ต้องจัดที่ดินร้อยละ 30 ของที่ดินทั้งหมดเป็น พื้นที่สีเขียว
    ร้อยละ 15 และ ที่จอดรถร้อยละ 15
3. ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
7.3.6 กิจการสนามแข่งขันยานยนต์
เงื่อนไขกิจการสนามแข่งขันยานยนต์
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
3. ต้องได้รับมาตรฐานจากสมาคม FIA (Federation
    Internationale de L'Automobile) หรือ FIM (Federation
    Internationale de Motocyclisme)
4. ต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมมิให้เกิดอันตรายหรือ
    ความ เดือดร้อนแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง

5. ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ประเภท
เงื่อนไข
7.3.7 กิจการสวนสัตว์เปิด
เงื่อนไขกิจการสวนสัตว์เปิด
1. ต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่
    น้อยกว่า 500 ล้านบาท และที่ดินมีขนาดไม่น้อยกว่า 500
    ไร่
2. ส่วนประกอบของโครงการต้องได้รับความเห็นชอบจาก
    คณะกรรมการ
3. ต้องจัดที่ดินร้อยละ 30 ของที่ดินทั้งหมดเป็นพื้นที่สีเขียว
    ร้อยละ 15 และ ที่จอดรถ ร้อยละ 15
7.3.8 กิจการกระเช้าไฟฟ้า
เงื่อนไขกิจการกระเช้าไฟฟ้า
ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้
รับสิทธิ และประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการที่ 1/2543
ยกเว้นที่ระบุไว้ เป็นอย่างอื่น
7.4 กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
7.4.1 กิจการหอประชุมขนาดใหญ่
เงื่อนไขกิจการหอประชุมขนาดใหญ่
1. ต้องมีพื้นที่ส่วนที่ใช้เพื่อการประชุมไม่น้อยกว่า 4,000
    ตารางเมตร โดยห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่
    น้อยกว่า 3,000 ตารางเมตร
2. ต้องมีเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับ
    โครงการ
3. แบบแปลนแผนผังต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ
    กรรมการ
7.4.2 กิจการศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ
เงื่อนไขกิจการศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ
1. ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ไร่ โดยเป็นพื้นที่แสดงสินค้า
    ภายในอาคารไม่น้อยกว่า 25,000 ตารางเมตร
2. ต้องมีห้องสำหรับเจรจาธุรกิจทุกห้องแสดงสินค้า (Hall)
7.4.3 กิจการโรงแรม
เงื่อนไขกิจการโรงแรม
1. โครงการที่ตั้งในเขต 1 หรือเขต 2 รวมทั้งอำเภอหาดใหญ่
    และ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่
    เกี่ยวกับ ภาษีอากรเท่านั้น


ประเภท
เงื่อนไข

2. โครงการที่ตั้งในเขต 3 (ไม่รวมตามข้อ 1 และ 3) ให้ได้รับยกเว้น อากรขาเข้าเครื่องจักรและสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เท่านั้น
3. โครงการที่ตั้งในจังหวัด กาฬสินธุ์ นครพนม นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ
4. ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการที่ 1/2543
5. ต้องมีจำนวนห้องพักไม่น้อยกว่า 100 ห้อง
7.5 กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม
7.5.1 กิจการเขตอุตสาหกรรม

เงื่อนไขกิจการเขตอุตสาหกรรม
1. ไม่ให้การส่งเสริมในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
2. ที่ดินมีขนาดไม่น้อยกว่า 500 ไร่
3. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่
    เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด
4. เงื่อนไขอื่นเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
7.5.2 กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
เงื่อนไขกิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
1. ต้องสร้างอาคารโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุต
    สาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม
2. แบบแปลนแผนผังต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ
    กรรมการ
3. การปลูกสร้างอาคารโรงงานต้องเป็นไปตามกฎหมายว่า
    ด้วย โรงงานและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้าง
4. หากเป็นอาคารโรงงานหลายชั้น ต้องสูงไม่เกิน 12 ชั้น
5. ไม่ให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรทุก
    เขต

ประเภท
เงื่อนไข
7.5.3 กิจการเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับประกอบการค้าเสรี
เงื่อนไขกิจการเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับประกอบการค้า
เสรี
1. ที่ดินมีขนาดไม่น้อยกว่า 200 ไร่
2. ไม่ให้การส่งเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร
3. จังหวัดสมุทรปราการจะให้การส่งเสริมเฉพาะในเขตที่ดิน
    ประเภท อุตสาหกรรมและคลังสินค้าที่กระทรวงอุตสาห
    กรรมให้ความเห็นชอบ
4. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
    ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
7.5.4 กิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
เงื่อนไขกิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องมีระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูงทั่วทั้งเขต
    อุตสาหกรรม
3. ต้องมีระบบโทรคมนาคมหลักที่มีการวางสายสื่อสารแบบ
    ความเร็ว สูงจากเขตอุตสาหกรรมไปยังศูนย์กลางสื่อสาร
    โทรคมนาคมใน ประเทศและระหว่างประเทศ
4. มีระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง
5. ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร
7.5.5 กิจการเขตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
เงื่อนไขสำหรับกิจการศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง
ประดับ
1. ที่ดินต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 100 ไร่
2. ต้องมีพื้นที่สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ
    อัญมณีและเครื่องประดับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของ
    พื้นที่ทั้งหมด
3. ต้องมีพื้นที่สำหรับการค้าขายอัญมณีและเครื่องประดับ
4. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม
5. ต้องมีห้องประชุมและห้องแสดงสินค้ารวมทั้งศูนย์ธุรกิจ
6. ต้องมีพื้นที่จอดรถขนาดที่เหมาะสม
7. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ทุกเขต สำหรับ
    สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะกรรมการ
    ที่ 1/2543



ประเภท
เงื่อนไข
7.5.6 กิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(1) นิคมอุตสาหกรรมสำหรับกิจการฟอกย้อม
(2) นิคมอุตสาหกรรมสำหรับกิจการฟอกหนัง
(3) นิคมอุตสาหกรรมสำหรับกิจการชุบเคลือบผิวด้วยโลหะและ Anodize (Surface Treatment)
เงื่อนไขสำหรับประเภทกิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องได้รับความเห็นชอบจากการนิคมอุตสาหกรรมฯ ก่อน
    ยื่นขอรับการ ส่งเสริม
7.6 กิจการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย
(Distribution Center)
1. เป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัย ควบคุมด้วยระบบ
    คอมพิวเตอร์ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
2. รับฝากสินค้านำเข้าได้เฉพาะที่เสียภาษีอากรหรือของที่ใช้
    สิทธิและ ประโยชน์อื่น ซึ่งผ่านพิธีการศุลกากรแล้ว เช่น
    สินค้าที่ได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตร
    การส่งเสริมการลงทุน หรือของอื่นๆ ที่อธิบดีกรมศุลกากร
    กำหนด
3. ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรเฉพาะที่เกี่ยวกับ
    เครื่องจักรตามเขตที่ตั้ง
7.7 ศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ ทันสมัย (International Distribution Center)
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย
    ในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. เป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัย ควบคุมด้วยระบบ
    คอมพิวเตอร์ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
4. รับฝากสินค้านำเข้าได้เฉพาะที่เสียภาษีอากรหรือของ
    ที่ใช้สิทธิและประโยชน์อื่น ซึ่งผ่านพิธีการศุลกากรแล้ว
    เช่น สินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตาม
    มาตรการส่งเสริมการลงทุน หรือของอื่นๆ ที่อธิบดีกรม
    ศุลกากรกำหนดให้ได้รับเฉพาะสิทธิและประโยชน์ทาง
    ภาษีอากรดังต่อไปนี้ ไม่ว่าตั้งในเขตใด
7.8 กิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Procurement Office - IPO)
1. ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2. สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1) และ 36(2)

ประเภท
เงื่อนไข
7.9 กิจการสำนักงานภูมิภาค (Regional Headquarters)
1. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปีทุกเขต สำหรับ
    สิทธิ และประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะกรรมการ
    ที่ 1/2543
2. ต้องกำกับดูแลกิจการของสาขาหรือบริษัทในเครือในต่าง
    ประเทศ ไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ และต้องมีศูนย์ฝึกอบรม
    และพัฒนาบุคลากร
3. ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละไม่น้อยกว่า 50 ล้าน
    บาท
4. ต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไม่น้อยกว่า 40
    ล้านบาท ภายใน 2 ปีนับแต่วันออกบัตรส่งเสริม
5. ต้องมีรายได้จากต่างประเทศไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของราย
    ได้ทั้งหมดในแต่ละปี
6. ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการจากหน่วยงานของรัฐที่
    เกี่ยวข้อง
7. ต้องมีแผนดำเนินการและขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะ
    กรรมการกำหนด
7.10 กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน
1. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
2. ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรเท่านั้น
3. ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละไม่น้อยกว่า 10 ล้าน
    บาท
4. ต้องมีแผนดำเนินการและขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะ
    กรรมการกำหนด
7.11 กิจการสถานพยาบาล
7.11.1 โรงพยาบาล
เงื่อนไขสำหรับกิจการโรงพยาบาล
1. ต้องตั้งในเขต 2 หรือ 3
2. ต้องมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนไม่น้อยกว่า 50 เตียง
3. ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
7.11.2 บ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ
7.11.3 ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ
เงื่อนไขกิจการบ้านพัก/ศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุและ
ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ
1. บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
2. หากเป็นการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เงินลงทุนต้องนำ
    เข้ามา จากต่างประเทศ
3. ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรเฉพาะที่เกี่ยวกับ
    เครื่องจักร ตามเขตที่ตั้ง

ประเภท
เงื่อนไข
7.12 กิจการวิจัยและพัฒนา
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องมีขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด
7.13 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
7.14 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน (Calibration)
จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
7.15 กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
7.15.1 สถานศึกษาหรือศูนย์ฝึกฝนวิชาชีพ
7.15.2 กิจการโรงเรียนนานาชาติ
7.15.3 กิจการสถานศึกษาด้านโรงแรม
7.15.4 กิจการสถานศึกษาพัฒนากำลังคน ด้าน พาณิชย์นาวี
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. การดำเนินการต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของ
    รัฐ ที่เกี่ยวข้อง
3. ต้องมีขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด
7.16 กิจการบริการบำบัดน้ำเสีย กำจัดหรือขนถ่ายขยะ กากอุตสาหกรรม หรือสารเคมีที่เป็นพิษ
1. จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
2. ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
7.17 กิจการสร้างภาพยนตร์ไทย หรือการให้บริการแก่ธุรกิจสร้าง
ภาพยนตร์ หรือบริการ Multimedia
1. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต สำหรับสิทธิ
    และ ประโยชน์อื่นให้ได้รับตามประกาศคณะกรรมการที่
   1/2543
2. ต้องมีเครื่องจักรอุปกรณ์ และขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะ
    กรรมการ กำหนด
7.18 กิจการให้บริการฆ่าเชื้อแก่ผลิตภัณฑ์
-
7.19 กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง
1. ต้องจัดที่อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 150 หน่วย สำหรับในเขต 1
     และไม่น้อยกว่า 75 หน่วยสำหรับในเขต 2 และ 3
2. พื้นที่ต่อหน่วยต้องไม่น้อยกว่า 31 ตารางเมตร
3. ต้องจำหน่ายในราคาหน่วยละไม่เกิน 6 แสนบาท (รวม
    ราคาที่ดิน)
4. แผนผังและแบบแปลนอาคารต้องได้รับความเห็นชอบจาก
    คณะกรรมการ
  5. ต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบ
      คุม อาคาร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. โครงการที่ตั้งอยู่ในเขต 1 และ 2 ให้ได้รับสิทธิและ
    ประโยชน์เฉพาะ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี และ
    โครงการที่ตั้งอยู่ในเขต 3 ให้ได้รับเฉพาะการยกเว้นภาษี
    เงินได้นิติบุคคล 8 ปี เท่านั้น
7.20 กิจการเคลือบหรือพอกท่อสำหรับปิโตรเลียม
ต้องตั้งอยู่ในเขต 2 หรือ 3

วิธีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน

1.การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ผู้สนใจและประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะขอเอกสารเผยแพร่ขอคำแนะนำด้านการลงทุน และแบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริม (กกท.01) ได้ที่ศูนย์บริการลงทุนทั้งนี้ เมื่อกรอกคำขอในแบบฟอร์ม เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นคำขอจำนวน 2 ชุด ที่สำนักเลขานุการกรม และทำสำเนา คำขออีก 1 ชุด เพื่อผู้ขอรับการส่งเสริมเก็บไว้เป็นสำเนาคำขอรับการส่งเสริมที่มีโครงการลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จะต้องยื่นรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility  Study (รายละเอียดตามประกาศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 50 / 2534 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534)
ในกรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริมยังไม่ได้จัดตั้งบริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ ผู้ขออาจยื่นคำขอรับการส่งเสริมได้ในนามบุคคลธรรมดา แต่ผู้ขอรับการส่งเสริมนั้นจะต้องจัดตั้ง บริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ขอรับการส่งเสริม ได้ตอบรับมติคณะกรรมการให้การส่งเสริมแล้ว
การพิจารณาโครงการที่ขอรับการส่งเสริม
สำนักงานจะพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันทำการนับ แต่วันที่สำนักงาน ได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสาร และหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาครบถ้วน (รายละเอียดตามระเบียบสำนักงานฉบับที่ 1 / 2535 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2535) ส่วนคำขอรับการส่งเสริมที่มีขนาด การลงทุน ตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไปที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่จะต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 30 วัน รวมเป็น 90 วันทำการ
2.การแจ้งมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการส่งเสริม
หลังจากคำขอรับการส่งเสริมได้ผ่านการพิจารณาแล้ว สำนักงานเลขานุการกรมจะแจ้งมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้การส่งเสริมแก่ผู้ขอให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทำการ (รายละเอียดตามระเบียบสำนักงาน ฉบับที่ 2 / 2535 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2535)
3.การออกบัตรส่งเสริม
ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องตอบรับมติให้การส่งเสริมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งมติ หากไม่สามารถตอบรับมติภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถขอขยายเวลาตอบรับมติและขอขยายเวลาเพื่อส่ง เอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมได้ (รายละเอียดตามระเบียบสำนักงาน ฉบับที่4 / 2535 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2535) เมื่อตอบรับแล้วจะต้องส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการออกบัตรส่งเสริม ตามที่สำนักงานกำหนดไว้ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันตอบรับมติ (รายละเอียดตามระเบียบสำนักงาน 5 / 2535 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2535) ได้ที่สำนักเลขานุการกรม

No comments:

Post a Comment