Total Pageviews

Wednesday, 23 November 2011

แนวข้อสอบ วิชาการบัญชีการเงิน


บทที่ 1    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีและแม่บทการบัญชี
ตอนที่  1   อธิบาย (หมายถึง การให้รายละเอียดเพิ่มเติม ขยายความ ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)
1.      ให้อธิบายความหมายของการบัญชี
         ตอบ       การบัญชี หมายถึง การรวบรวม จดบันทึก จำแนกข้อมูล การสรุป และการวิเคราะห์ทางการเงินประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันโดยนักบัญชี ซึ่งในการรวบรวม การจดบันทึก และการจำแนกข้อมูลนั้น อาจทำได้ด้วยมือ ด้วยเครื่องจักรกลในการทำบัญชี และเครื่องคอมพิวเตอร์ การบัญชีแบ่งออกเป็นการบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร และการบัญชีรัฐบาล
2.      จงบอกวัตถุประสงค์ของการบัญชี
         ตอบ       1.   เพื่อให้มีความสามารถเกี่ยวกับแนวความคิด ระบบและวิธีการบันทึกรายการ
บัญชีทั่วไป
2.    เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์งบการเงิน
3. เพื่อให้มีความสามารถในการนำแนวความคิดทางการบัญชีไปใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
3.      ผู้ใช้งบการเงินมีใครบ้าง และมีวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลอย่างไร
         ตอบ       ผู้ลงทุน ต้องการข้อมูลที่ช่วยในการพิจารณาถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน เพื่อตัดสินใจในการซื้อขายหรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป
                    ลูกจ้าง ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรของนายจ้าง ใช้ประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทน บำเหน็จบำนาญและโอกาสในการจ้างงาน
                         ผู้ให้กู้  ต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการพิจารณาว่าเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด
                         ลูกค้า ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ กรณีที่มีความสัมพันธ์กันมานาน หรือต้องพึ่งพาอาศัยกัน
                         รัฐบาลและหน่วยราชการ  ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการในการจัดสรรทรัพยากร กำกับดูแล กำหนดนโยบายทางภาษี และใช้เป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ และจัดทำสถิติในด้านต่าง ๆ
                         สาธารณสุข  ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จและการดำเนินงานของ
กิ
จการซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณชนในการจ้างงานกับการรับซื้อผลผลิตจากผู้ผลิตในท้องถิ่น
4.  ข้อสมมติฐานของการบัญชีคืออะไร ประกอบด้วยหลักเกณฑ์สำคัญในการจัดทำงบการเงินอย่างไร
         ตอบ  แนวความคิดเบื้องต้นซึ่งเป็นที่มาของหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และประกอบด้วยประสบการณ์ ความจำเป็นในทางปฏิบัติ ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีจึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน ถูกรวบรวมกำหนดขึ้นจากหลักวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ จนข้อสมมตินี้ได้นำมาถือเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไป
                         -การใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี (The Monetary  Unit)
                         -ความเป็นหน่วยงานของกิจการ (The Entity)
                         -การใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม (The Objectivity Principle)
                         -รอบเวลา (The Time Period)
                         -การดำรงอยู่ของกิจการ (The Going Concern)
                         -ราคาทุน (The Cost)
                         -การบันทึกรายได้ (The Revenue Realization)
                         -การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ (The Matching Principle)
                         -หลักเงินค้างหรือเกณฑ์คงค้าง (The Accrual Principle)
                         -หลักการประมาณ (The Approximation Assumpion)
                         -หลักความสม่ำเสมอ (The Consistency Principle)
                         -หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ (The Full Disclosure Principle)
                         -ความระมัดระวัง (Conservation)
                         -หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form)
                         -หลักการมีสาระสำคัญ (Materiality)
                         -หลักการปฏิบัติเฉพาะธุรกิจบางประเภท (Industry Practice)

5.      ให้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี
         ตอบ       เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคตและในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบัน เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ในการปรับปรุงข้อกำหนดมาตรฐาน และการปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวข้องกับการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องกัน โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการลดจำนวนทางเลือกของวิธีการบันทึกบัญชีที่เคยอนุญาตให้ใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติ

6.   ให้อธิบายความหมายของลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
         ตอบ       คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินมีสี่ประการ ได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้และการเปรียบเทียบกันได้
7.   ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้มีอะไรบ้าง
ให้อธิบายโดยละเอียด
         ตอบ       ทันต่อเวลา (Timeliness) กิจการอาจจำเป็นต้องเสนอรายงานให้ทันต่อเวลาก่อนที่จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีในทุกลักษณะ ซึ่งอาจทำให้ความเชื่อถือได้ลดลง ในทางกลับกันหากกิจการจะรอกระทั่งทราบข้อมูลในทุกลักษณะจึงจะเสนอ
รายงาน รายงานนั้นอาจมีความเชื่อถือได้สูง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการ
ตัดสินใจช่วงเวลานั้น
                         ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป (Thade off Between Benefits and Costs) เป็นข้อจำกัดที่สำคัญของงบการเงินมากกว่าจะถือเป็นลักษณะเชิง
คุณภาพ การประเมินประโยชน์และต้นทุนในการจัดการข้อมูลนั้น และเป็นหลักโดยเฉพาะเมื่อผู้ที่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลนั้น  การประเมินประโยชน์และต้นทุนต้องใช้ประโยชน์และต้นทุนต้องใช้ดุลพินิจเป็นหลักโดยเฉพาะเมื่อผู้ที่ได้รับประโยชน์ข้อมูลไม่ต้องรับผิดชอบต่อต้นทุนในการจัดหาข้อมูลนั้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ (Trade off  Between Qualitative Characteristics) ในทางปฏิบัติ การสร้างความสมดุลระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งจำเป็น ผู้จัดทำงบการเงินต้องหาความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพต่าง ๆ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                
8.  ให้อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
         8.1    การดำเนินงานต่อเนื่อง
         ตอบ       งบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต
         8.2    ความเข้าใจ
         ตอบ       ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว
         8.3    ความมีนัยสำคัญ
         ตอบ       ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้  ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ    8.4   การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
         ตอบ       ข้อมูลจะมีความเชื่อถือได้เมื่อรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง
         8.5    เนื้อหาสำคัญต่อรูปแบบ
         ตอบ       ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่ทางกฎหมายหรือรูปแบบที่ทำขึ้น
         8.6    ความเป็นกลาง
         ตอบ       ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินมีความเชื่อถือ มีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียง
         8.7    ความระมัดระวัง
         ตอบ       ผู้จัดทำงบการเงินต้องประสบกับความไม่แน่นอนอันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
         8.8    ความครบถ้วน
         ตอบ       ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ และต้นทุนในการจัดทำ
         8.9    การเปรียบเทียบกับได้
         ตอบ       ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลา
ต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการนอกจากนี้ในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ
9.   กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดมีรูปแบบอย่างไร
         ตอบ       เป็นกิจการขนาดเล็กไม่ต้องใช้เงินทุนมาก เจ้าของกิจการเป็นผู้บริหารงานเอง
รับผิดชอบในหนี้ของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนหลักการบัญชีต้องแยกกิจการออกจากเจ้าของ
                         ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนเป็นนิตบุคคล ต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน
รับผิดชอบชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน หุ้นส่วนที่เหลืออาจจะเป็นผู้
รับผิดชอบโดยจำกัดจำนวนหรือไม่จำกัดจำนวนก็ได้ ผู้บริหารงานจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่
รับผิดชอบชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวนเท่านั้น การเสียภาษีเงินได้เสียในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
                         บริษัทจำกัด ต้องมีผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 7 คน ร่วมกันจดทะเบียนตั้งบริษัทโดยกำหนดวัตถุประสงค์จำนวนทุน จำนวนหุ้นจดทะเบียนชัดเจน ทุนของบริษัทต้องแบ่งเป็นหุ้นราคาตามมูลค่า (Par Value) ในราคาหุ้นละเท่า ๆ กัน
10.  ให้บอกหน้าที่ของสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
         ตอบ       จัดทำแม่บทการบัญชี สำหรับการจัดทำและนำเสนองบการเงิน

No comments:

Post a Comment