Total Pageviews

Thursday, 1 December 2011

วิชา การตลาดเพื่อการส่งออก Marketing For Export

ชุดที่ 1  เรื่องความรู้พื้นฐานของการตลาดเพื่อการส่งออก

1.  การตลาดเพื่อการส่งออกปัจจุบันแตกต่างจากอดีต  เพราะ  
ตลาดเพื่อการส่งออกในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว  เป็นกิจกรรมที่    จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ  เพราะช่องทางและโอกาสทางการตลาดมีอยู่ไม่มากนักการศึกษาเกี่ยวกับการตลาดเพื่อการส่งออกจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่เมื่อเวลาผ่านมาถึงยุคโลกาภิวัตน์เช่นทุกวันนี้ ธุรกิจเพื่อการส่งออกก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความสนใจ มีผู้คนมากมายอยากจะเข้ามาสู่ธุรกิจนี้   มองเห็นธุรกิจนี้เป็นช่องทางการทำกำไร มีสภาพการแข่งขันชิงดีกันอย่างดุเดือดเข้มข้น ผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้อยู่แล้วและผู้ที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจนี้จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดได้ และมีความมั่นคงในระยะยาว

2.  จงอธิบายความหมายต่อไปนี้
1.  การตลาดเพื่อส่งออก (Export Marketing)  หมายถึง  เป็นการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเหมือนกัน  เพียงแต่สินค้าที่ขายนั้นส่งออกไปขายให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ในอีกประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศ  ซึ่งพฤติกรรมของผู้ซื้อหรือความต้องการของตลาดในกรณีของสินค้าส่งออกมักจะมีความแตกต่างออกไปจากพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่ภายในประเทศไทยดังนั้นความสำเร็จของวงการตลาดเพื่อการส่งออกจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ           ประกอบกัน
2.  ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก  หมายถึง  เป็นธุรกิจระหว่างประเทศที่มีขนาดและขอบเขตการประกอบการแตกต่างกันตั้งแต่กิจการส่งออกขนาดเล็กในรูปบริษัทการค้า  (Trading Company)  บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการผลิตเพื่อการส่งออก  (Manufacturer  on  Export  Goods)  หรือเป็นบริษัทข้ามชาติ  (Multinational  Corporation) ที่มีขอบเขตของการทำธุรกิจ  เครือข่ายกิจการกว้างขวางและกระจายอยู่ในหลายประเทศ
3.  กิจกรรมทางการตลาดเพื่อการส่งออก ประกอบด้วย  การวิเคราะห์ช่องทางการจำหน่ายและการเลือกช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก การนำเทคนิคการหาตลาดมาใช้ในธุรกิจการคิดต้นทุนและการกำหนดราคาสินค้าเพื่อการส่งออก ตลอดจนกิจการส่งเสริมการตลาดเพื่อการส่งออกในต่างประเทศ

3.  ลักษณะที่สำคัญของตลาดต่างประเทศมี  3  ประเภท   ดังนี้
1.  การจัดการเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ
2.  ผู้ดำเนินการ
3.  รูปแบบของกิจกรรมการตลาดในต่างประเทศ

4.  การตลาดส่งออกแบบบังเอิญ  (Casual or Accidential Exporting)  หมายถึง 
กิจกรรมการตลาดระหว่างประเทศที่ผู้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดมิได้คาดหมายล่วงหน้า หรือเตรียมการจัดการไว้ก่อน ลูกค้าในตลาดต่างประเทศเป็นผู้เข้ามาสั่งซื้อสินค้าออกไปเอง  ซึ่งอาจจะมีจำนวนไม่มากในแต่ละครั้ง และไม่บ่อยครั้ง ผู้ดำเนินกิจกรรมการตลาดส่งออกแบบนี้อาจจะไม่ถือว่าตลาดต่างประเทศเป็นตลาดในเป้าหมายของกิจการและมิได้ให้ความสำคัญเชิงนโยบายบางกิจกรรมจัดรวมกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในกิจกรรมการตลาดภายในประเทศด้วยซ้ำ
                ในบางกรณีผู้ดำเนินกิจกรรมการตลาดแบบนี้ไม่ได้ให้การส่งเสริมหรือสนใจที่จะส่งออกเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ติดตามลูกค้าให้กลับมาหาตนอีก

5.   การตลาดส่งออกแบบกระตุ้นเร้า  (Active Exporting)  หมายถึง 
กิจกรรมทางการตลาดที่มุ่งให้ความสำคัญ  กำหนดไว้เป็นนโยบายของกิจการที่จะหาทางชักชวนผู้ซื้อจาก
ต่างประเทศ มีการเสาะแสวงหาตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทรัพยากรต่าง ๆ ภายในกิจการจัดสรรมาเพื่อการนี้มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรเป็นฝ่ายงานเฉพาะ เพื่อรับผิดชอบดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินงานทางการตลาดต่างประเทศแทนตน

6.  เป้าหมายที่นักการตลาดเพื่อการส่งออกมักจะกำหนดมี  3 เป้าหมาย  ได้แก่
                1.  ผลกำไร  (Profits)
                2.  ความเจริญเติบโตและความอยู่รอดของธุรกิจ  (Growth and Survival)
                3.  เป็นส่วนหนึ่งที่สังคมยอมรับ  (Good  Citizen)

7.  แนวคิดการตลาดแบบมวลชน  (Mass Marketing) นับวันจะหมดไปจากการตลาดเพื่อการส่งออกเพราะ
                การผลิตสินค้าอย่างเดียวใช้ราคาเดียวโฆษณา และส่งเสริมการตลาดแบบเดียว และวางจำหน่ายกระจายไปทั่วโลกเป็นไปได้ยาก การตลาดต่างประเทศจะเป็นตลาดแบบแบ่งส่วนตลาด  (Marketing Segmentation)   ที่ต้องเจาะลึกลงไปถึงท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเฉพาะภูมิภาค

8.   ผลดีที่จะได้จากการที่ผู้บริหารงานการตลาดส่งออกเป็นผู้คล่องตัว  คือ 
ผู้บริหารงานการตลาดต่างประเทศต้องมีความคล่องตัวสูงมาก เลือกปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพ
ตลาด และควรเป็นการรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้ามากกว่าการหากำไรระยะสั้น และควรหาพันธมิตรทางธุรกิจแทนการแข่งขันกันตลอดเวลา ความร่วมมือจะทำให้เกิดความสะดวกคล่องตัวและมีประสิทธิผลมากกว่า
(จาก การตลาดเพื่อการส่งออก   สนพ . บริษัทพัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด)


No comments:

Post a Comment